กุมารทอง หลวงพ่อเต๋ คงทอง

 


 

 



 





 

 

 

 


 

  




 





ลูกกรอก คือ อะไร

ลูกกรอก คือ คนหรือสัตว์ซึ่งคลอดออกมาแล้วเสียชีวิต  และลูกกรอกโดย มากเมื่อคลอดออกมาแล้วจะมีร่างกายเล็กผิดปกติ คนโบราณมักจะนำมาปิดทองเปลว  แล้วนำใส่พานเก็บไว้เซ่นบูชา ซึ่งมีความเชื่อถือกันว่า วิญญาณลูกกรอกนั้น จะช่วยเหลือผู้ที่นำไปบูชา ให้เกิดโชคลาภ ทำมาหากินเจริญรุ่งเรืองหรือทำค้าขายดี
ลูกกรอกแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
1. ลูกกรอกที่เป็นคน
2. ลูกกรอกที่เป็นสัตว์ เช่น ลูกกรอกสุนัข ลูกกรอกแมว
ลูกกรอกที่เป็นคน คือเด็กทารกที่ปฏิสนธิแล้วมีอาการครบ 32 เป็นแต่มีขนาดเล็กแค่คืบหรือกว่าคืบเล็กน้อยเท่านั้น แม้จะอยู่ในครรภ์มารดาจนครบกำหนด ขนาดดังกล่าวก็ไม่เปลี่ยนแปลง
ในทางการแพทย์ถือว่าทารกดังกล่าวไม่มีชีวิตตั้งแต่ขณะคลอด จึงไม่มีสภาพเป็นบุคคลตามกฎหมาย เพราะจะเป็นบุคคลตามกฎหมายได้ก็ต้องคลอดแล้วอยู่รอดเป็นทารก
แต่ลูกกรอกซึ่งเป็นแค่ทารกอยู่ในครรภ์ มีอาการครบ 32 มีขนาดผิดปกติจากทารกทั่วไป และไร้ชีวิต จึงไม่ใช่ทารกหรือบุคคลตามกฎหมาย
แต่ในทางไสยศาสตร์นั้นถือว่าวิญญาณได้ปฏิสนธิในตัวลูกกรอกแล้ว และวิญญาณนั้นยังครองอยู่จนกระทั่งคลอดออกมา ดังนั้นลูกกรอกจึงไม่เน่าไม่เปื่อย ทั้งๆ ที่ในทางการแพทย์ถือว่าไม่มีชีวิตอยู่แล้ว
ในทางไสยศาสตร์จึงถือว่าลูกกรอกเป็นทารกที่มีวิญญาณ ครองแต่ไม่มีชีวิต ดังนั้นเมื่อคลอดออกมาจึงมีคติที่จะอาบน้ำอาบท่าใส่เสื้อผ้าใส่พานแล้ว สักการบูชา โดยมีคติความเชื่อว่าจะปกปักรักษาผู้เป็นพ่อแม่ให้แคล้วคลาดจากอุปัทวันตรา ยทั้งปวง มีโชค มีลาภ มีทรัพย์สินเงินทองที่อุดมสมบูรณ์

ตะกรุดหลวงพ่อเงิน

  


  


ตะกรุดหน้าผากเสือ

ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณฯ 


ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ หลวงปู่นาค วัดอรุณฯ “ตะกรุดหนังหน้าผากเสือ” ที่ได้รับความนิยม อันดับหนึ่ง ก็ต้องตะกรุดที่สร้างโดย หลวงปู่นาควัดอรุณ ซึ่งแต่เดิมตะกรุดดอกนี้มีการ “ถักเชือก” แต่เพราะความเก่าของตะกรุดที่อายุกว่าร้อยปี เชือกจึงขาดหลุดไป เจ้าของ “อัครนันท์” เลยนิมนต์ให้อยู่ในตลับทองเพราะดอกนี้ “ดูง่าย” หลวงพ่อนาค วัดอรุณ ฯ ความเก่าของหนังหน้าผากเสือ “ฟ้องในตัว” ดีมากเลย 

ความเป็นมาของตะกรุด

      


ตะกรุด จะมีพุทธคุณ ดีทางป้องกันภยันอันตราย แคล้วคลาด เมตตามหานิยม หรือ โชคลาภ นั้นก็แล้วแต่ พระคณาจารย์ต่างๆจะเป็นผู้อธิฐานจิตลงไป ของดีมีระดับยอดนิยมของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ที่สร้างไว้ซึ่งแต่ละดอก แต่ละท่านพระอาจารย์เป็นผู้สร้าง ล้วนมีวิชาอาคมด้วยอิทธิมหามงคลสารพัดประการ 

ตะกรุด เครื่องรางยุคต้นที่ทำด้วยโลหะ 

ตะกรุด หมาย ถึง แผ่นโลหะบางๆ ที่ม้วนกลมลงอักขระ บางคณาจารย์ถักเชื่อกลงรัก-ปิดทอง ไม่อาจจะยุติได้ว่าตะกรุด จะตบแต่งมากน้อยเพียงใด แล้วแต่ ท่านพระคณาจารย์ ต่างๆ จะสรรค์สร้าง เช่น เชือกถัก-ลงรัก, แบบที่นำผงมาพอกก็มี, นำมาบรรจุใส่ในไม้รวกก็มี เป็นต้น 


ตะกรุด ไม่ ทราบแน่ชัดว่าเริ่มสร้างตั้งแต่ สมัยใด แต่มีหลักฐานปรากฎชัดในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงสร้างเหรียญเสมา จปร. เพื่อแจกเด็ก เมื่อ พ.ศ. 2444 พระองค์ทรงพระราชทานเหรียญเสมา จปร. ด้านบทเจาะรูสำหรับร้อยด้าย (สำหรับห้อยคอ) และด้านซ้าย-ขวาของเส้นด้ายร้อยไว้ด้วยตะกรุด ม่ท ราบว่าพระคณาจารย์รูปใดปลุกเสก เพราะสมัยในยุคของพระองค์มีพระคณาจารย์โด่งดังหลายรูป แต่ทรงโปรดฯมาก คือ หลวงปู่ปั้น วัดเงิน (รัชฏา-ธิฐาน) ตลิ่งชัน ซึ่ง หลวงปู่ได้รับพระราชทานจีวรลาย ดอก จปร. หลักฐานจากรูปถ่ายหลวงปู่ปั้นนุ่งห่มจีวรลายดอก จปร. แต่หลวงปู่ไม่ปรากฎนามในทำเนียบพระคณาจารย์ เพราะไม่ได้สร้างพระเครื่องแต่อย่างใด แต่เป็นพระที่มีวิชาอาคม รุ่นเดียวกับ หลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง กรุงเทพมหานคร ตะกรุดยุคโบราณ หรือ ตะกรุดยุค เก่า ส่วนมากทำด้วยเนื้อตะกั่วสังขวานร คือตะกั่วที่รีดบางและลงอักขระ ส่วนโลหะอื่นๆนั้นเป็นยุคหลังลงมา มีด้วยกันหลายขนาด บางองค์มีความยาว 1 เซนติเมตรถึง 3 นิ้ว ดังเช่น ตะกรุดขนาดเล็กจิ๋วบาง ที่ฝังในเนื้อคนก็มีของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ จังหวัดนครราชสีมาเป็นต้น

ผลเสียจากการเลี้ยงกุมารทอง

ส่วนคนที่เลี้ยงกุมารทองก็จะคิดว่า สิ่งเหล่านี้เป็นที่พึ่ง ความคิดจะวนเวียนอยู่แต่เรื่องกุมารทอง ใจมาผูกพันกับเรื่องทรงเจ้าเข้าผี มักจะไม่ค่อยคิดเรื่องการทำความดีให้ยิ่งๆ ขึ้นไปความคิดที่จะให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา หรือ ตั้งใจจะเข้าถึงพระรัตนตรัยในตัวไม่มี เมื่อตายแล้ว มักจะวนเวียนอยู่กับพวกนี้ บางรายมาเป็นพวก ในเครือของวิทยาธรที่เกี่ยวกับเรื่องที่ตนสนใจ หรือไปเข้าสิง เข้าทรงอย่างที่ตนเคยทำ แต่ถ้าหาก ได้ทำบุญบ้าง ไม่ได้ทำบาปอะไรมากมาย อย่างมากก็ไปเป็นวิทยาธรอยู่ในป่าหิมพานต์ จะไม่ไปสูงกว่านี้ แล้วก็มีสิทธิ์ไปเกิดเป็นกุมารทองให้เขาใช้ และเมื่อเกิดมาเป็นมนุษย์มักจะเป็นร่างทรง คือมี ความรู้สึกชอบ จะมีคนชวน จะมีกระแสดึงดูดให้ไปเป็นร่างทรง พอไปเจอพวกร่างทรง ก็บอกว่า มีองค์อยู่ข้างใน ถ้าไม่ยอมให้เป็นร่างทรงก็จะป่วยไข้ ทนไม่ไหว ถ้าจะหายป่วยก็ต้องยอมให้องค์เข้า ทางภาคใต้มักจะเรียก ม้าทรง เพราะเวลามาทรงเหมือนกับต้องข่มขี่ คล้ายกับขี่ม้า ทีนี้ข่ม ร่างมนุษย์ เขาจึงเรียกว่า

พิธีอัญเชิญเครื่องรางของขลังออกจากบ้าน

นอกจากนี้ยังมีพิธีอัญเชิญเครื่องราง ของขลังที่ไม่ใช่พระรัตนตรัยออกจากบ้าน ก็ทำ ไม่ยาก มี ๒ วิธี เช่นเดียวกัน คือ รักต้องฝัง ฝากพระแม่ธรณีไว้ โดยอาการนอบน้อมไม่ลบหลู่ และพูดดีๆ ว่า ขอฝากแม่พระธรณีดูแลสิ่งเหล่านี้ด้วย ขอบคุณสิ่งเหล่านี้ และเอ่ยชื่อ ของขลังเหล่านั้น เช่น ตะกรุด ผ้ายันต์ ที่ได้ช่วยดูแลในช่วงที่พระรัตนตรัยยังไม่บังเกิดขึ้นในใจ บัดนี้พระรัตนตรัยบังเกิดขึ้นในใจแล้ว ขออัญเชิญสิ่งเหล่านี้ได้กลับคืนกับครูบาอาจารย์ และขอฝากไว้กับแม่พระธรณี หรือวิธีรักต้องลอย ฝากแม่พระคงคาไว้ ก็ทำเช่นเดียวกัน เพราะ ต่อจากนี้ไป เราจะยึดพระรัตนตรัยเป็นที่พึ่งตลอดชีวิต บัดนี้เราจะทำพระนิพพานให้แจ้ง และแสวงบุญ จึงจำต้องอัญเชิญออก