ความเป็นมาของตะกรุด

      


ตะกรุด จะมีพุทธคุณ ดีทางป้องกันภยันอันตราย แคล้วคลาด เมตตามหานิยม หรือ โชคลาภ นั้นก็แล้วแต่ พระคณาจารย์ต่างๆจะเป็นผู้อธิฐานจิตลงไป ของดีมีระดับยอดนิยมของพระเกจิอาจารย์ต่างๆ ที่สร้างไว้ซึ่งแต่ละดอก แต่ละท่านพระอาจารย์เป็นผู้สร้าง ล้วนมีวิชาอาคมด้วยอิทธิมหามงคลสารพัดประการ 

ตะกรุด เครื่องรางยุคต้นที่ทำด้วยโลหะ 

ตะกรุด หมาย ถึง แผ่นโลหะบางๆ ที่ม้วนกลมลงอักขระ บางคณาจารย์ถักเชื่อกลงรัก-ปิดทอง ไม่อาจจะยุติได้ว่าตะกรุด จะตบแต่งมากน้อยเพียงใด แล้วแต่ ท่านพระคณาจารย์ ต่างๆ จะสรรค์สร้าง เช่น เชือกถัก-ลงรัก, แบบที่นำผงมาพอกก็มี, นำมาบรรจุใส่ในไม้รวกก็มี เป็นต้น 


ตะกรุด ไม่ ทราบแน่ชัดว่าเริ่มสร้างตั้งแต่ สมัยใด แต่มีหลักฐานปรากฎชัดในสมัยรัชกาลที่ 5 พระองค์ทรงสร้างเหรียญเสมา จปร. เพื่อแจกเด็ก เมื่อ พ.ศ. 2444 พระองค์ทรงพระราชทานเหรียญเสมา จปร. ด้านบทเจาะรูสำหรับร้อยด้าย (สำหรับห้อยคอ) และด้านซ้าย-ขวาของเส้นด้ายร้อยไว้ด้วยตะกรุด ม่ท ราบว่าพระคณาจารย์รูปใดปลุกเสก เพราะสมัยในยุคของพระองค์มีพระคณาจารย์โด่งดังหลายรูป แต่ทรงโปรดฯมาก คือ หลวงปู่ปั้น วัดเงิน (รัชฏา-ธิฐาน) ตลิ่งชัน ซึ่ง หลวงปู่ได้รับพระราชทานจีวรลาย ดอก จปร. หลักฐานจากรูปถ่ายหลวงปู่ปั้นนุ่งห่มจีวรลายดอก จปร. แต่หลวงปู่ไม่ปรากฎนามในทำเนียบพระคณาจารย์ เพราะไม่ได้สร้างพระเครื่องแต่อย่างใด แต่เป็นพระที่มีวิชาอาคม รุ่นเดียวกับ หลวงปู่เอี่ยมวัดหนัง กรุงเทพมหานคร ตะกรุดยุคโบราณ หรือ ตะกรุดยุค เก่า ส่วนมากทำด้วยเนื้อตะกั่วสังขวานร คือตะกั่วที่รีดบางและลงอักขระ ส่วนโลหะอื่นๆนั้นเป็นยุคหลังลงมา มีด้วยกันหลายขนาด บางองค์มีความยาว 1 เซนติเมตรถึง 3 นิ้ว ดังเช่น ตะกรุดขนาดเล็กจิ๋วบาง ที่ฝังในเนื้อคนก็มีของหลวงพ่อคูณ ปริสุทโธ จังหวัดนครราชสีมาเป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น